หน้าหลัก ข้อมูล สินค้า เรื่องเหล็กน่ารู้ ติดต่อเรา
การอบ-ชุบ
A B C D E F G H I J K L M
N O P Q R S T U V W X Y Z
Anneaing
การอบเหล็กให้อ่อน

การอบให้อ่อน (Annealing) เพื่อให้เหล็กกล้าง่ายต่อการนำไปตบแต่งไสกลึง กรรมวิธีมีดังต่อไปนี้ เผาเหล็กให้ร้อนขึ้นอย่างช้า ๆ จนถึงระดับอุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส เหนือระดับอุณหภูมิวิกฤตสิ้นสุด แล้วเผาแช่อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้ความร้อนแผ่กระจายตลอดชิ้นงานหลังจากนั้นปล่อยให้เย็นตัวลงอย่างช้า ๆ ภายในเตา จนถึงระดับอุณหภูมิห้อง

การทำ Annealing มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 3 ประการ คือ

1. เพื่อลดความเครียดทีเกิดขึ้นภายในเนื้อโลหะ ที่ผ่านกรรมวิธีหล่อขึ้นรูปด้วยวิธี Hot และ Cold working มา

2. เพื่อเปลี่ยนคุณสมบัติของโลหะให้สม่ำเสมอ

3. เพื่อลดแก๊สที่ปนอยู่ในเนื้อโลหะให้น้อยลง เพราะแก๊สที่ปนอยู่นี้จะทำให้โลหะมีความเหนียวต่ำ

การอบคลาย ทำโดยการเผาโลหะที่อุณหภูมิสูง แล้วปล่อยให้เย็นช้า ๆ ภายในเตาเพื่อให้โลหะเปลี่ยนโครงสร้างทีละน้อยจนถึงอุณหภูมิห้องอุณหภูมิที่ใช้ในการทำ Annealing สำหรับเหล็กกล้าทำที่อุณหภูมิ 800 - 850 องศาเซลเซียส

สำหรับเหล็กหล่อทำที่อุณหภูมิ 800 - 850 องศาเซลเซียส

สำหรับทองเหลืองที่อุณหภูมิ 800 – 850 องศาเซลเซียส


Carburizing
การชุบแข็งเฉพาะผิว
การอบชุบผิวแข็ง คือ การทำให้ผิวของเหล็กมีความแข็งด้วยการเพิ่มปริมาณธาตุถ่านหรือธาตุไนโตเจนให้มากขึ้น แต่ถ้าเหล็กนั้นมีปริมาณของธาตุถ่านหรือไนโตรเจนเพียงพอ ก็สามารถนำไปอบชุบถานในโตรเจนว่ามีมากและถูกดูดซึมลึกเท่าไรด้วย ผิวของชิ้นงานที่ได้จะมีประสิทธิภาพดีกว่าเดิมมาก เพราะผิวของชิ้นงานจะทนต่อการสึกหรอ ทนแรงฉีกขาดได้สูง เช่น ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์กลไกเมื่อผ่านการชุบแข็งที่ผิวของเหล็กแล้วจะมีความแข็งแรงทนทาน อายุการใช้งานสูง ชิ้นงานนี้จะมีราคาถูก เพราะสามารถใช้เหล็กธรรมดานำมาดัดแปลงได้

การที่เราต้องการให้เหล็กแข็งเฉพาะที่ผิวนั้น เนื่องจากต้องการให้ชิ้นงานมีความเหนียวตรงแกนกลาง และมีความแข็งแรงเหมาะกับการใช้งานตามบริเวณผิวของเหล็กนั้


Case Hardening
การชุบเฉพาะผิว

การชุบเฉพาะผิว จะทำให้ผิวชิ้นงานที่ชุบแข็งทนการ เสียดสีได้ดี แต่แกนในชิ้นงานยังเหนียวอยู่สามารถรับแรงบิด แรงดึงและแรงกระแทกได้ดี เหมาะกับชิ้นงาน เช่น เพลา เฟือง บูช สลัก เป็นต้น


Critical Cooling Rate
การเย็นตัววิกฤต

Flame-hardening Steel
เหล็กที่ชุบแข็งด้วยเปลวไฟ
การใช้เปลวไฟ หมายถึงการใช้เปลวไฟเผาส่วนผิวชิ้นงาน จนถึงอุณหภูมิชุบแข็ง จากนั้นนำลงจุ่มชุบและคืนไฟเพื่อให้ ได้ความแข็งตามกำหนดเหมาะกับชิ้นงานที่มีคาร์บอนระหว่าง 0.30-0.60%

Hardening
การชุบแข็ง   
การชุบแข็ง (Hardening) เพื่อให้เหล็กมีความแข็งต้านทานต่อการสึกหรอ กระทำโดยการเผาเหล็กให้ร้อนจนถึงระดับอุณหภูมิเหนืออุณหภูมิวิกฤติสิ้นสุดประมาณ 50 องศาเซลเซียส แล้วเผาแช่ไว้ที่ระดับอุณหภูมินี้จนกระทั่งความร้อนกระจายทั่วทั้งชิ้นงาน และโครงสร้างภายในเปลี่ยนเป็นออสเตไนท์ จึงนำชิ้นงานออกจากเตาไปทำการจุ่มชุบลงในสารชุบ ซึ่งทำให้อัตราการเย็นตัวเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพื่อที่จะทำให้เหล็กมีโครงสร้างภายในเปลี่ยนเป็นแบบมาร์เทนไซต์

การชุบแข็ง (Hardening) เพื่อให้ได้ความแข็งเพียงอย่างเดียว โลหะจะถูกเผาที่อุณหภูมิสูง จนเปลี่ยนโครงสร้างเป็นแบบหนึ่ง และจะนำมาทำให้เย็นได้เร็วด้วยวิธีชุบในน้ำหรือในน้ำมัน ทำให้โลหะไม่สามารถจะเปลี่ยนโครงสร้างมาอยู่ในสภาพสมดุลได้ เป็นเหตุให้โครงสร้างภายหลังการชุบ เป็นโครงสร้างใหม่ที่เป็นแบบไม่สมดุล ซึ่งส่วนมากจะมีความแข็งสูง การชุบแข็งส่วนใหญ่ใช้กับเหล็กกล้าที่มีธาตุคาร์บอนเกินกว่า 0.3% และโลหะผสมระหว่างทองแดงกับอะลูมิเนียมบางชนิด

อุณหภูมิที่ใช้ชุบแข็งเหล็ก จะใช้อุณหภูมิประมาณ 800 – 850๐C ในตอนนี้เหล็กจะเปลี่ยนโครงสร้างเป็นออสเตไนท์ และเมื่อชุบน้ำเหล็กจะให้โครงสร้างสร้างเป็น มาร์เทนไซท์ ซึ่งมีความแข็งสูงแต่เปาะ

สำหรับโลหะผสมทองแดงกับอะลูมิเนียม โดยมีอะลูมิเนียม 10% ชุบแข็งที่อุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส จะได้โครงสร้างที่มีลักษณะคล้าย Martensite ของเหล็กเหมือนกัน และเป็นโครงสร้างที่มีความแข็งสูง

การชุบแข็ง ทำเพื่อให้ชิ้นงานแข็งทนการสึกหรอทำ โดยการอบที่อุณหภูมิที่กำหนดเวลาอบแช่สำหรับเหล็กกล้า คาร์บอน และเหล็กกล้าผสมต่ำ 5-15นาที จุ่มชุบในสารชุบ ตามข้อกำหนดของเกรด เหล็กนั้นๆ สารที่ชุบมี น้ำ น้ำมัน ลม เกลือหลอมเหลว

Heat Treatment
การอบชุบ
การอบชุบ หมายความรวมถึงการชุบแข็งด้วยความร้อน กับเหล็กการอบอ่อน หรือกระบวนการอื่นๆ ที่มีการให้

Induction 
การชุบแข็งที่ผิว
การชุบแข็ง โดยใช้คลื่นความถี่สูงผ่านขดลวดที่ อุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส เพื่อชุบแข็งที่ผิวโดยความ ลึกจะขึ้น อยู่กับ ความร้อนที่ผ่านขดลวด

Induction Hardening
การใช้คลื่นความถี่สูง
การใช้คลื่นความถี่สูง คล้ายการชุบแบบเปลวไฟมาก แต่่ จะใช้คลื่นความถี่สูงในการให้ความร้อนผิวชิ้นงานจนถึง อุณหภูมิชุบแข็ง เหมาะกับชิ้นงานที่มีรูปร่างคล้ายกันเป็น จำนวนมาก

Gas quenching 
การชุบแก็ส

Normalizing 
การอบให้เกรนสม่ำเสมอ

การอบให้เกรนสม่ำเสมอ ทำให้เนื้อเหล็กมีความแข็ง สม่ำเสมอทั่วทั้งชิ้นงาน และมีเนื้อเหล็ก (grain) เหล็กละเอียดขึ้นง่ายต่อการกลึงงานขึ้นรูป มีความแข็งแรง ดีกว่า การอบอ่อนทำให้ง่ายต่อ การชุบแข็ง ชุบแข็งแบบ อินดั๊กชั่นได้ดี ขึ้นอบไปที่อุณหภูมิที่กำหนดอบแช่ไว้ ประมาณ 30-60 นาที ต่อความหนา 25 มม. เย็นตัวใน อากาศนอกเตา


Nitriding ไนไตรดิ้ง
การชุบผิวแข็ง
การชุบผิวแข็ง โดยการเติมไนโตรเจนลงไปที่ผิวเหล็ก ทำให้ เหล็กมีความแข็งเพิ่มขึ้นเฉพาะส่วนผิวเท่านั้น ส่วน ความแข็งของเนื้อเหล็กภายใน ยังเหมือนเดิม

Oil quenching
การชุบน้ำมัน

Stress Relieve
การอบให้คลายความเครียด

การลดความเค้น (Stress relieving) เพื่อช่วยลดการบิดงอภายหลังการชุบแข็ง กระทำโดยการเผาเหล็กจนถึงระดับอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิวิกฤติเริ่มต้นประมาณ 50 – 100 องศาเซลเซียส แล้วเผาแช่ช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้ความร้อนแผ่กระจายตอลดชิ้นงาน หลังจากนั้นปล่อยให้เย็นในเตาจนถึงระดับอุณหภูมิประมาณ 400 องศาเซลเซียส แล้วปล่อยให้เย็นในอากาศ

โลหะทุกชนิดภายหลังการทำ cold work แล้มักจะมีความเครียดเกิดขึ้นภายในโครงสร้างของโลหะ ทำให้เพิ่มทั้งความแข็งและทนต่อแรงดึง แต่ความเหนียวจะกลับลดลงมาก ทำให้เปราะและแตกง่ายเมื่อนำไปใช้งาน หรือ ถ้าจำเป็นต้องทำ Cold work ในขั้นต่อ ๆ ไป จะทำได้ยากเพราะในโลหะมีความแข็งเพิ่มขึ้น ต้องใช้พลังงานมากขึ้น จึงจะทำการแปรรูปในขั้นต่อไปได้ เพื่อลดหรือทำลายความเครียดนี้ให้น้อยลงหรือหมดไป จะนำโลหะมาเผาที่อุณหภูมิสูงปานกลางประมาณ 200 – 400 องศาเซลเซียส ความเครียดในโลหะจะลดน้อยหรือหมดไปขึ้นอยู่กับเวลาและอุณหภูมิที่ใช้ การลดความเคียดนี้บางทีก็เรียกว่า Process Annealing กล่าวคือ เป็นการอบให้อ่อนระหว่างการทำ cold work จากขั้นหนึ่งไปอีกขั้นหนึ่ง

การอบให้คลายความเครียด หรือการอบอ่อนไม่ที่ สมบรูณ์ ใช้อบเพื่อทำลายความเครียดจากการขึ้นรูปเย็น ทำกับเหล็กเครื่องมือก่อนชุบแข็งเพื่อลดการคด งอ และ ความเสี่ยงต่ิการแตกหักระหว่างการชุบ อบที่อุณหภูมิ 700-650 ํC เวลาอบแช่ประมาณ 1-2 ชั่วโมงเย็นตัวใน อากาศนอกเตา มักใช้กับเหล็กแผ่น และลวดรีดเย็นเพื่อให้ ขึ้นรูปต่อได้

Temper Brittleness
อบคืนตัว

การอบคืนตัว (Tempering) เนื่องจากเหล็กภายหลังการชุบแข็งแล้วจะมีความแข็งมาก และมีความเปราะ เพื่อให้มีความเหนียวเพิ่มขึ้น ความแข็งแรงเพิ่มขึ้นจึงนำเหล็กที่ชุบแข็งแล้วนำมาอบคืนตัว โดยการเผาเหล็กให้ร้อนจนถึงระดับอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิวิกฤติ ซึ่งจะเป็นระดับอุณหภูมิที่เท่าใดขึ้นอยู่กับชนิดของเหล็ก แล้วเผาแช่ไว้ที่ระดับอุณหภูมินั้นชั่วระยะเวลาหนึ่ง ต่อจากนั้นปล่อยให้เย็นตัวลงเพื่อปับให้ได้คุณสมบัติตามต้องการเหมาะกับที่จะนำไปใช้งานในแต่ละสภาพ


Vacuum Heat Treatment
การชุบโดยใช้เตาสุญญากาศ

การชุบโดยใช้เตาสุญญากาศ แบ่งเป็น การชุบน้ำมัน (Oil quenching) และ
การชุบแก็ส (Gas quenching)

เตาสุญญาศและออลนิทไนไตรดิ้ง
วิธีการออลนิท ไนไตรดิ้ง คือการชุบแข็งที่ผิวชิ้นงาน โดยใช้ความร้อนความดันต่ำในเตาสุญญากาศ

ข้อดีของระบบออลนิท ไนไตรดิ้ง
- สามารถเลือกชั้น (Layers) ได้
- สารที่เคลือบจะอัดรวมตัวกันแน่นเป็นชั้นๆ
- สามารถชุบชิ้นงานทีเป็นท่อ หลุม หรือเป็น cavity ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถชุบชิ้นงานที่ซับซ้อนได้
- ชิ้นงานสะอาด
- ไม่เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม

อุณหภูมิสูงสุด = 750 ํC
อุณหภูมิโดยรวมเฉลี่ย +- 5 ํC

ชนะสตีล
Mobile.087-9146799 ,082-5464774 Tel. 02-4543977 Fax. 02-8021946